วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

หน้าหลัก

คำนำ

          รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา COM เว็บบล็อก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่สวยงามน่าเที่ยว  ประเพณีวัฒนธรรมที่น่าค้นหา เเละเจาะลึกถึงความเป็นมาของจังหวัดภูเก็ต สิ่งที่น่าเลื่อมใสทางพระพุทธศาสนา 
          ผู้จัดทำหวังว่ารายงานชิ้นนี้จะสามารถให้ความรู้แก่ผู้สนใจ นักเรียน นักศึกษา ให้ได้ค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการถ้าผิดพลาดประการใดทางผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย




ผู้จัดทำ            
ด.ญ ภคภรณ์ ปราบปัญจะ

ประวัติจังหวัดภูเก็ต


จังหวัดภูเก็ต


ประวัติความเป็นมาของจังหวัดภูเก็ต




      ความเป็นมาเเละประวัติของภูเก็ตมีหลายกระเเสบ้างว่าภูเก็ตเป็นเกาะที่ชาวประมงค้นพบ แต่เดิมเรียกว่า "บูกิต" เป็นภาษามลายูแปลว่า ภูเขา เเต่บางกระเเสว่า ภูเก็ตมาจากคำว่า"ภูเก็จ"แปลว่าภูเขาที่มีค่า ซึ่งคำว่าภูเก็จมีบันทึกในเอกสารเมืองถลางว่าใช้กันมาตั้งเเต่ปี พ.ศ 2328 เป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อเมืองถลาง ต่อมาเปลี่ยนเป็นภูเก็ตโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังที่ปรากฏในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ตั้งเเต่ปี พ.ศ 2450เป็นต้นมา โดยเริ่มเป็นที่รู้จักกันในฐานะมณฑลภูเก็ต ในสมัยรัชกาลที่ 5 และเปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต ในเวลาต่อมา


  • สมัยกรุงศรีอยุธยา
  • ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งห้างค้าแร่ดีบุกในเมืองถลางเมื่อพ.ศ. 2126 ต่อมาในปีพ.ศ.2169 พระเจ้าทรงธรรมทรงทำสัญญา ให้ดัตช์เข้ามาผูกขาดการรับซื้อแร่ดีบุกที่ถลางได้ เนื่องจากชาวดัตช์เริ่มเข้ามามีอิทธิพลบนเกาะชวามากขึ้น แต่ชาวถลางก็ลุกขึ้นสู้การกดขี่ของชาวดัตช์ โดยขับไล่ไปจากเกาะในพ.ศ. 2210 และต่อมาในสมัยพระนารายณ์มหาราชทรงมีดำริที่จะให้สัมปทานแก่ชาวฝรั่งเศสมาสร้างห้างและผูกขาดการค้าแร่ดีบุกที่ถลาง (ยกเลิกไปในสมัยสมเด็จพระเพทราชา)
  • สมัยรัตนโกสินทร์ถึงปัจจุบัน
  • ในสมัยรัชกาลที่ 1(พ.ศ.2328) เกิดศึกถลางขึ้นซึ่งคุณหญิงจันและคุณหญิงมุกร่วมกับชาวถลางต้านศึกพม่าได้สำเร็จ จนได้รับราชทินนามตำแหน่ง เป็นท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร ต่อมาในปี พ.ศ.2352 เกิดศึกถลางครั้งที่สองขึ้นถลางพ่ายแพ้แก่ทัพพม่า เมืองถลางจึงกลายเป็นเมืองร้าง 


     วิวัฒนาการของภูเก็ต มีหลายช่วงด้วยกัน นับเเต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เห็นได้จากมีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ เครื่องมือหินและขวานหิน ที่บ้านกมลาอ.กะทู้ โดยจากการตรวจสอบ ทำให้ทราบว่าหลักฐานดังกล่าว มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า เกาะภูเก็ตมีผู้คนอาศัยอยู่ ตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ 
             สมัยอาณาจักรกรีกโบราณ ได้มีการกล่าวถึงภูเก็ต ในชื่อแหลมจังซีลอน ตามแผนที่ของปโตเลมี (นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก)สันนิษฐานว่า ขณะนั้นภูเก็ตยังเป็นแหลมติดกับแผ่นดินใหญ่ ก่อนที่พื้นดินบริเวณช่องปากพระ (ร่องน้ำระหว่างจังหวัดพังงาและภูเก็ต) จะถูกกัดเซาะจนขาดจากกัน แสดงให้เห็นว่าภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินทางในขณะนั้นในนามของแหลมจังซีลอน
             ภูเก็ตเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรต่างๆเรื่อยมาตั้งแต่ประมาณต้นพุทธศตวรรษ 800ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรตามพรลิงค์ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรศิริธรรมราช อาณาจักรสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งเป็นจังหวัดหนึ่ง ในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยผ่านเหตุการณ์ต่างๆมาตั้งแต่เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการเดินทางระหว่างสุวรรณภูมิและทวีปอินเดีย ศูนย์กลางสำคัญในการค้าขายคือทำเหมืองแร่ดีบุกและปัจจุบันเป็นเมืองท่องเที่ยวมีชื่อเสียงระดับโลก
           สำหรับประวัติศาสตร์ที่สามารถอ้างอิงได้ และมีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับภูเก็ตนั้นพอสรุปได้ดังนี้

        15 ปีต่อมา ( พ.ศ.2367) รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นสร้างเมืองใหม่ ที่บ้านท่าเรือ ประจวบกับช่วงนั้น มีการพบสายแร่ ที่บ้านเก็ตโฮ่ (อ.กะทู้) และที่บ้านทุ่งคา (อ.เมืองภูเก็ต) ความเจริญ และชุมชนเมืองจึงย้ายไปตามแหล่ง ที่พบสายแร่แต่เมืองเหล่านั้น (บ้านกะทู้ , บ้านทุ่งคา) แต่ก็อยู่ในฐานะเมืองบริวารของถลาง 
        ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3-4 กิจการเหมืองแร่ มีความเจริญก้าวหน้ามาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการส่งส่วย “ดีบุก” มาเป็นการผูกขาดเก็บภาษีอากรแบบ “เหมาเมือง” ตลอดจนมีการทำ สนธิสัญญา กับต่างชาติ ส่งผลให้ธุรกิจการค้าดีบุก ขยายตัวอย่างกว้างขวาง คนจีนพากันหลั่งไหล เข้ามาทำเหมืองจนกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ ในภูเก็ตจนถึงปัจจุบัน
        ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2435) ได้มีการปฏิรูปการปกครอง เป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล มีการแต่งตั้งให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต และในช่วงนี้เองที่ภูเก็ต เริ่มมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้วางรากฐาน ด้านต่างๆ ทั้งระบบสาธารณูปโภค เช่น การสร้างถนน, การพัฒนา ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ และวางรากฐานการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจในภูเก็ต คือ ตรา พ.ร.บ.เหมืองแร่, ริเริ่มการปลูกยางพารา ในภาคใต้ของประเทศไทยรวมทั้งภูเก็ต
        ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมากิจการเหมืองแร่เริ่มซบเซาลง กลุ่มนักลงทุนเริ่มมีแนวคิด ในการนำธุรกิจการท่องเที่ยว เข้ามาแทนที่ การทำเหมืองแร่ และในวันที่ 23 มิถุนายน 2529 ได้เกิดเหตุการณ์ เผาโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม นับเป็นการปิดฉากธุรกิจเหมืองแร่ ในภูเก็ตอย่างแท้จริง การท่องเที่ยวกลายเป็นทางเลือกใหม่ของคนภูเก็ต