วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

ท่องเที่ยวภูเก็ต

  ท่องเที่ยวภูเก็ต


จังหวัดภูเก็ตเจ้าของฉายาไข่มุกอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่ทำให้หลายคนนึกถึงเสมอเมื่อต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนที่ทะเล อีกทั้งยังเป็นเมืองที่สร้างสีสันระดับอินเตอร์ เพราะมีสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่หลงใหลหาดทรายขาว น้ำทะเลใส แสงแดดเจิดจ้า และความสะดวกสบายทั้งด้านการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร หรือการแสดงอันเต็มไปด้วยสีสันมากมาย เดินทางมาเที่ยวภูเก็ตกันตลอดทั้งปี ฉะนั้น วันนี้กระปุกท่องเที่ยวจึงรวบรวมเอา 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่ไม่ควรพลาดมาแนะนำ

1.วัดไชยธาราม (วัดฉลอง)



  วัดไชยธาราม หรือวัดฉลอง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองชาวภูเก็ต ซึ่งชาวภูเก็ตให้ความเคารพนับถือเป็นเวลานับร้อยปี อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่มาภูเก็ตจะต้องมาเคารพสักการะ หลวงพ่อแช่ม แห่งวัดฉลอง โดยหลวงพ่อแช่มเป็นผู้นำชาวภูเก็ตต่อสู้กับพวกจีน (อังยี้) ทำเหมืองที่ทำการขบถจะยึดเมืองภูเก็ตเมื่อปี พ.ศ.2415 นอกจากนี้ ท่านมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการรักษาโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ต่อกระดูก รักษาเส้น ฯลฯ ส่วนภายในวัดยังมีอุโบสถ์หลังเล็ก ภายในจะเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระประธาน และมีรูปปั้นอีก 2 ตัวขนาบข้าง คือ ท้าวนนทรี เป็นรูปปั้นยักษ์ยืนอยู่ทางเบื้องซ้าย ส่วนทางด้านขวามีรูปปั้นตาแก่นั่งสูบบุหรี่ เรียกว่า ตาขี้เหล็ก เล่ากันว่าตอนที่สร้างโบสถ์เสร็จมีปูนเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง ช่างนึกสนุกจึงนำปูนมาปั้นเป็นรูปตาแก่ และประชาชนนิยมบนตาขี้เหล็กด้วยหมากพลูและบุหรี่มาจนทุกวันนี้

2.ตึกโบราณสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส


สถาปัตยกรรมในตัวเมืองภูเก็ตส่วนใหญ่มักเป็นตึกสมัยเก่า มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ที่สร้างขึ้นเกือบร้อยปีมาแล้ว เมื่อครั้งกิจการเหมืองแร่เริ่มเจริญใหม่ ๆ อาคารส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นโดยนักธุรกิจชาวจีน ที่มีความร่ำรวยจากการเข้ามาทำธุรกิจเหมืองแร่ดีบุกในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันยังมีตึกที่ได้รับอิทธิพลทางด้านสถาปัตยกรรมแบบจีนมาผสมผสาน เรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบ ชิโน-โปรตุกีส (Sino-Portuguese) เช่น อาคารปัจจุบันที่ทำการศาลากลางจังหวัด, ศาลจังหวัด, ธนาคารนครหลวงไทย เป็นต้น โดยลักษณะของตึกที่ว่าจะเป็นอาคารจะมีส่วนลึกมากกว่าส่วนกว้างและไม่สูงนัก ซึ่งนักท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่จะมาเดินชมตึก ชมทัศนียภาพของอาคาร รวมทั้งถ่ายภาพเก็บความงามเหล่านี้ไว้เสมอ

3.แหลมพรหมเทพ


ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตภายในจังหวัดภูเก็ต เพราะเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยเป็นแหลมที่อยู่ตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต ชาวบ้านเรียกว่า แหลมเจ้า ซึ่งจากริมหน้าผามีแนวต้นตาลลาดลงสู่ปลายแหลมที่เป็นโขดหิน สามารถเดินไปจนถึงปลายแหลมได้ มองเห็นน้ำทะเลสีเขียวมรกต และสามารถเห็นเกาะแก้วอยู่ด้านหน้าแหลม ทางขวาจะเห็นแนวหาดทรายของหาดในหาน
          นอกจากนั้นยังมี ประภาคารกาญจนาภิเษก แหลมพรหมเทพ สร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ50ปี ภายในประภาคารมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการสร้างประภาคาร การรักษาเวลามาตรฐาน การคำนวณ และแสดงเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตก อีกทั้งจากบนยอดของประภาคารยังเป็นจุดชมวิวได้ด้วย

4.วัดพระทอง (พระผุด)


 วัดพระทอง หรือวัดพระผุด มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึกพระเจ้าปะดุงยกพลมาตีเมืองถลาง (พ.ศ. 2328) ทหารพม่าพยายามขุดพระผุดเพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใดก็มีฝูงแตนไล่ต่อยจนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้านได้นำทองหุ้มพระพุทธรูปที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ดังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต เช่น จังซุ่ย เสื้อกันฝนชาวเหมืองแร่ดีบุก รองเท้าตีนตุกของสตรีเชื้อสายจีนที่ต้องมัดเท้าให้เล็กตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้นอีกด้วยฃ

5.หาดป่าตอง


หาดป่าตอง อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ15 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนวิชิตสงคราม หรือ ทางหลวงหมายเลข 4020 ไป 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4029 ไปอีก 6 กิโลเมตร นับเป็นอ่าวที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เพราะเป็นอ่าวที่มีความโค้งมาก หาดทรายงดงามเป็นแนวยาว 9 กิโลเมตร น้ำทะเลใสสะอาด เหมาะแก่การเล่นน้ำ อีกทั้งบริเวณชายหาดยังมีกิจกรรมทางน้ำให้ได้เล่นกันมันส์ ๆ ไม่ว่าจะเป็น ขับเจ็ทสกี, สปีดโบ๊ท รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ อย่างครบครัน และบริเวณหาดมีที่พัก บริษัทนำเที่ยว ศูนย์การค้า และแหล่งบันเทิงบริการนักท่องเที่ยวอย่างครบครัน

6.หาดกะตะ


  ห่างจากตัวเมือง 17 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางถนนเจ้าฟ้า หาดกะตะ แบ่งออกเป็น 2 หาด คือ หาดกะตะใหญ่ และ หาดกะตะน้อย เป็นหาดที่เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ และใช้เป็นที่ฝึกดำน้ำเนื่องจากมีแนวปะการังติดต่อกันไปจนถึงเกาะปู ซึ่งอยู่ด้านหน้าหาดกะตะ ปัจจุบันหาดกะตะเป็นหาดหนึ่งที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น สถานที่พัก บริษัทนำเที่ยว ร้านค้า และแหล่งบันเทิงต่าง ๆ ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว เช่นเดียวกับ หาดกะรน ที่อยู่ถัดจากหาดกะตะไปทางด้านเหนือ ไปตามถนนซึ่งแยกจากหาดกะตะ 3 กิโลเมตร เป็นหาดทรายขาว ละเอียด ทอดตัวในแนวยาว ไปจนสุดหาด และเป็นหาดหนึ่งที่มีสถานที่พัก บริษัทนำเที่ยว ร้านค้าจำนวนมาก สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน


7. หาดกมลา




          ถือเป็นชายหาดที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่เหนือหาดป่าตอง ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ  26 กิโลเมตร ความยาวของหาดทรายยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นหาดที่สงบเงียบ มีสถานที่พักบริการนักท่องเที่ยวมากมาย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนกลายเป็นหาดที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยการสร้างแหล่งช้อปปิ้ง, สปา, มินิบาร์ รวมทั้งการแสดงโชว์แสง สี เสียง อีกทั้งยังเป็นสถานที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงมุสลิม จึงเป็นสถานที่เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินทางมาพักผ่อนเป็นครอบครัวและเพื่อนกลุ่มใหญ่ นอกจากนี้ ในบริเวณหาดยังมีอนุสรณ์สถานสึนามิ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสะท้อนถึงภัยพิบัติคลื่นยักษ์ ชื่อว่า จิตจักรวาล อีกด้วย


8. ภูเก็ตแฟนตาซี

  เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นอาณาจักรแห่งความบันเทิงในระดับโลกเลยก็ว่าได้ สำหรับ ภูเก็ตแฟนตาซี ศูนย์การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยผสมผสานเทคนิคพิเศษในระดับโลก ที่ได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ถึงความอลังการของโชว์ ซึ่งนอกจากโชว์แล้วยังมีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกและหัตถกรรมไทยต่าง ๆ ห้องเกม โดยแต่ละอาคารได้รับการออกแบบเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ลักษณะต่าง ๆ มีการดึงเอาจุดเด่นของแต่ละภาคมาใช้ และตกแต่งโดยใช้แสงสีต่าง ๆ ดูตระการตา

9. เกาะมะพร้าว

 เกาะมะพร้าว อยู่ห่างจากภูเก็ตทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร แต่บรรยากาศของทั้งสองเกาะนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยภูเก็ตนั้นขึ้นชื่อในเรื่องความเจริญ ครบครันไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก และมีบรรยากาศคึกคัก แต่สำหรับเกาะมะพร้าวกลับเป็นเกาะที่มีแต่ธรรมชาติและบรรยากาศอันเงียบสงบ (บริเวณท่าเรือแหลมหินของเกาะภูเก็ต มีบริการเรือหางยาวส่งนักท่องเที่ยวสู่เกาะมะพร้าว)
          เกาะมะพร้าว เป็นหนึ่งในเกาะบริวารของจังหวัดภูเก็ต หากเรายืนอยู่ที่ท่าเรือแหลมหิน มองออกไปเบื้องหน้าก็จะพบวิวเกาะมะพร้าวตั้งอยู่แค่เอื้อม โดยมีพื้นที่อยู่ประมาณ 2,620 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว จึงเป็นที่มาของชื่อเกาะมะพร้าว บนเกาะมีท่าเรืออยู่ 2 แห่ง ท่าเรือแรก คือ ท่าเรือหน้าหาด ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของเกาะเป็นท่าเรือคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากภูเก็ต ส่วนอีกแห่ง คือ ท่าเรือหน้าบ้าน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ เป็นท่าเรือขนส่งสินค้าของชาวประมง
          สำหรับชายหาดบนเกาะมะพร้าวมีที่เที่ยวชม 3 แห่ง ได้แก่ ชายหาดบริเวณท่าเรือหน้าหาด ชายหาดบริเวณท่าเรือหน้าบ้าน และชายหาดทางด้านทิศตะวันออกของเกาะ โดยชายหาดทั้งสองแห่งที่อยู่บริเวณท่าเรือ ส่วนใหญ่เป็นหาดเลนจึงไม่นิยมมากนัก นักท่องเที่ยวจะนิยมไปเล่นน้ำที่ชายหาดด้านทิศตะวันออกเสียมากกว่า ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเกาะมะพร้าวนอกจากจะสามารถเที่ยวชมและเล่นน้ำทะเลภายในเกาะแล้ว ยังมีเกาะบริเวณใกล้เคียงที่น่าสนใจอีกด้วย เช่น เกาะรังใหญ่ ที่ตั้งอยู่ใกล้เกาะมะพร้าว เกาะนี้นอกจากจะเด่นด้วยชายหาดขาวสะอาดน่าเล่นน้ำทะเลแล้ว ยังมีฟาร์มหอยมุกให้ชมด้วย

10. หลาดปล่อยของ 

หลาดปล่อยของ คือ ตลาดนัดสุดแนวของชาวภูเก็ต โดยคำว่า หลาด หมายถึง ตลาด ที่เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้บริโภคและผู้ค้า ส่วนคำว่า ปล่อยของ คือ การปลดปล่อยความคิดแปลกใหม่ที่ออกมาจากตัวตนของตัวเอง ดังนั้น หลาดปล่อยของ หมายถึง แหล่งรวมสินค้าแปลกแหวกแนวไม่เหมือนใคร มีทั้งสินค้าไอเดีย งานแฮนด์เมด, งานศิลปะ, งานแฟชั่นทั้งแบบเก่าและใหม่, การแสดง, อาหารนานาชนิด รวมทั้งไลฟ์สไตล์อื่น ๆ นอกจากนี้ หลาดปล่อยของเป็นสถานที่พักผ่อนท่ามกลางบรรยากาศกลางแจ้งสบาย ๆ ใน Limelight Avenue ใจกลางเมืองภูเก็ต ทั้งช้อปปิ้ง ดื่มกิน ฟังเพลง ชมการแสดงจากนักร้อง นักแสดงมืออาชีพและสมัครเล่น ที่มาช่วยกันสร้างสีสันสถานที่แห่งนี้ ให้เป็นตลาดทางเลือก Phuket Indy Market หนึ่งเดียวของจังหวัดภูเก็ต






อ้างอิง


ที่มาของหัวข้อ ที่มาจังหวัดภูเก็ต
  http://www.phuket.go.th/webpk/contents.php?str=introduce_cult


ที่มาของหัวข้อ ที่พักภูเก็ต
http://travel.kapook.com/view120445.html


ที่มาของหัวข้อ ประวัติความเป็นมาของจังหวัดภูเก็ต
http://phuketindex.com/travel/phuket-in-brief/history-th.htm

ที่มาของหัวข้อ ท่องเที่ยวภูเก็ต 
http://travel.kapook.com/view72737.html


ที่พักภูเก็ต

เราะมาแนะนำที่พักในภูเก็ตที่น่าพักผ่อนมา 5 ที่ด้วยกัน มีดังนี้

 1.Villa Royale Phuket



 ที่พักสุดหรูที่ตั้งอยู่บริเวณหาดกะตะ เหมาะสำหรับคู่รักที่ต้องการพื้นที่สวีท เน้นออกแบบห้องพักกว้าง ๆ รายล้อมไปด้วยธรรมชาติสุดโรแมนติกของท้องทะเลอันดามัน ซึ่งภายในห้องพักตกแต่งสไตล์ทันสมัย ผสมผสานระหว่างไม้กับปูน เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน และยังสามารถผ่อนคลายร่างกายด้วยบริการนวดแผนไทย, สปา หรือกิจกรรมดำน้ำดูปะการัง พร้อมอิ่มอร่อยกับห้องอาหารไทย-นานาชาติได้อีกด้วย
ราคา : ดูได้จาก villaroyalephuket.com/rate
ที่อยู่ : 12 (หาดกะตะ) ถนนกะตะน้อย อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
โทรศัพท์ : 0 7633 3568-74


2. Grand Sunset Hotel



Grand Sunset Hotel ตั้งอยู่ในตัวเมืองจังหวัดภูเก็ต ตกแต่งห้องพักให้ดูสว่างในโทนสีขาวและมีพื้นที่กว้างขวาง เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้ยังเป็นอีกหนึ่งโรงแรมแบบส่วนตัวสำหรับครอบครัวและคู่รัก แถมยังสามารถชมวิวโรแมนติกบนชั้นดาดฟ้า ผ่อนคลายไปกับสระว่ายน้ำเล็ก ๆ จากหน้าห้องพักได้อีกด้วย

ราคา : ดูได้จาก grandsunsethotel.com/rate
ที่อยู่ : 188/4 (หาดกะรน) ถนนกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
โทรศัพท์ : 0 7651 0020-026


3. Foto hotel



  รีสอร์ทสุดน่ารักที่โดดเด่นด้วยโลโก้รูปน้องหมี ตั้งอยู่บนทำเลที่ตั้งที่มีวิวสวยงามบริเวณหาดกะตะ อาคารออกแบบให้เป็นทรงเหลี่ยมมีความทันสมัย ตกแต่งห้องพักให้ดูสะอาดน่าอยู่ด้วยโทนสีขาว-ดำ และสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบวงจรสุด ๆ มีสระว่ายน้ำมองเห็นวิวทะเลได้กว้าง 180 องศา และพักผ่อนสบาย ๆ ด้วยการแช่อ่างจากุซซี่หรือนวดผ่อนคลายได้อีกด้วย ส่วนห้องพักนั้นแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ห้องพักห้องดีลักซ์เตียงใหญ่หรือเตียงแฝดชมวิวทะเลจากระเบียงหน้าห้องได้ และห้องดีลักซ์เตียงใหญ่หรือเตียงแฝดชมวิวป่าไม้แบบสดชื่น 

ราคา : ดูได้จาก fotohotelphuket.com/rate
ที่อยู่ : 218/9 ถนนกะตะ (หาดกะตะ) ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
โทรศัพท์ : 0 7668 0900


4. Mandarava Resort and Spa



 วิลล่างาม ๆ ที่ตอบโจทย์การพักผ่อนได้อย่างดีเยี่ยม ตั้งอยู่ใกล้หาดกะรน ตัวห้องพักออกแบบให้มีความกว้าง, สะอาด และเรียบง่าย เพื่อให้ความสบายแก่ผู้เข้าพักได้อย่างเต็มที่ ทั้งห้องดีลักซ์ มีทั้งแบบเตียงใหญ่และเตียงแฝด พร้อมด้วยวิวสวนด้านหน้ารีสอร์ท, ห้องสุพีเรียร์แบบเตียงใหญ่และเตียงแฝดมีระเบียงส่วนตัวหน้าห้องพัก และห้องดีลักซ์เตียงใหญ่ตั้งอยู่ชั้นบนสุดของห้อง และระเบียงหน้าห้องพัก

 ราคา : ดูได้จาก mandaravaresort.com/rate
ที่อยู่ : ซอยปฎัก 24 ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
โทรศัพท์ : 0 7668 1800



5. The Bell Pool Villa Resort Phuket



รีสอร์ทสไตล์พูลวิลล่า ตั้งห่างจากหาดกมลาเพียง 2 นาที ตกแต่งห้องพักด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบโบราณ แบ่งพื้นที่ในห้องเป็นสัดส่วน ห้องพักถูกแบ่งออกเป็น  4 แบบ ได้แก่ วิลล่า 1 ห้องนอนพร้อมสระว่ายน้ำส่วนตัว, วิลล่า 2 ห้องนอนสำหรับครอบครัว, วิลล่า 3 ห้องนอน พร้อมสระว่ายน้ำ และระบบโฮมเธียเตอร์ ห้องครัวสไตล์ตะวันตก และศาลาในสวนกลางแจ้งภายในบ้านพักและ วิลล่า 4 ห้องนอนขนาดใหญ่ มีระเบียงกลางแจ้งที่เหมาะสำหรับการมาพักผ่อนกับครอบครัว และเพื่อนกลุ่มใหญ่ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพักผ่อนของทางรีสอร์ท ทั้ง นวดสปา, คลาสโยคะ และการออกรอบกอล์ฟให้เลือกอีกด้วย

ราคา : สอบถามงจากรีสอร์ท
ที่อยู่ : 41/31 หมู่ 5 บ้านหัวควน (หาดกมลา) อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
โทรศัพท์ : 0 7627 9914



  


      






วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดภูเก็ต

คำขวัญ

" ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม "

รูปภาพแผนที่ภูเก็ต



  • ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตคนปัจจุบัน ปีพ.ศ 2559



นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา






 จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดเดียวที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องของหาดทรายที่สวยงาม น้ำทะเลใส ท้องทะเลที่งดงามเหมาะสำหรับการดำน้ำ รวมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับนักท่องเที่ยวอย่างครบครัน
        ในอดีตส่วนใหญ่ คนที่มีความเจริญรุ่งเรือง ทางเศรษฐกิจจะเป็นคนจีน ที่ทำเหมืองแร่ และพ่อค้าคนกลางขายยางพารา ความเจริญที่มาจากคนจีน ซึ่งเห็นได้จากศาลเจ้าจีน ที่ตั้งอยู่เรียงรายในตัวเมืองภูเก็ต เพื่อฉลองเทศกาลถือศีลกินผักในเดือนตุลาคมของทุกปี
        แต่ปัจจุบันความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ มาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเปรียบได้กับจำนวนนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่ค้นพบถึงความงดงามของแสงอาทิตย์ และทะเลที่ภูเก็ตมีไว้รองรับ และยังมีป่าเขาลำเนาไพร วนอุทยานแห่งชาติ โครงการคืนชะนีสู่ป่า รวมทั้งการนั่งช้างชมป่า

  • ของฝาก

น้ำพริกกุ้งเสียบ     ขนมเต้าส้อ     เม็ดมะม่วงหิมพานต์     ไข่มุก     ผ้าบาติกและ ฯลฯ

  • การเดินทาง

ทางรถยนต์จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร ตรงไประนอง จากระนองสู่อำเภอกระบุรีและกะเปอร์ของจังหวัดพังงา ภายในจังหวัดพังงาผ่านอำเภอคุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง จนถึงบ้านโคกกลอย ข้ามสะพานท้าวเทพกษัตรีหรือสะพานสารสิน ซึ่งเป็นระยะทางทั้งหมดประมาณ 817 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทางมีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศบริการออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุกวัน ติดต่อสอบถามได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด (02) 4347192, 4345557-8 บริษัทภูเก็ตเซ็นทรัลทัวร์ จำกัด (02) 4355019 บริษัทภูเก็ตท่องเที่ยว (02) 4355018 หรือ สถานีขนส่งภูเก็ต (076) 211480
ทางเครื่องบินบริษัทการบินไทยมีสายการบินจากกรุงเทพฯ สู่ภูเก็ตทุกวันซึ่งใช้เวลาบิน 1 ชั่วโมง 20 นาที ติดต่อสอบถามหรือจองได้ที่ บริษัทการบินกรุงเทพฯ จำกัด (02) 2800060, 6282000
ทางเรือเรือที่เข้ามาในจังหวัดภูเก็ต มีทั้งเรือขนถ่ายสินค้า และเรือท่องเที่ยวจากทั้งใน และต่างประเทศ ติดต่อสอบถามได้ที่บริษัทตัวแทนจำหน่ายต่างๆได้ 

  • วิสัยทัศน์จังหวัด
ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีเอกลักษณ์วัฒนธรรม และมีการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • ค่านิยมจังหวัดภูเก็ต
การปฎิบัติราชการตามหลักธรรมภิบาล และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง






ที่มา  http://www.phuket.go.th/webpk/contents.php?str=introduce_cult






วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

หน้าหลัก

คำนำ

          รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา COM เว็บบล็อก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่สวยงามน่าเที่ยว  ประเพณีวัฒนธรรมที่น่าค้นหา เเละเจาะลึกถึงความเป็นมาของจังหวัดภูเก็ต สิ่งที่น่าเลื่อมใสทางพระพุทธศาสนา 
          ผู้จัดทำหวังว่ารายงานชิ้นนี้จะสามารถให้ความรู้แก่ผู้สนใจ นักเรียน นักศึกษา ให้ได้ค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการถ้าผิดพลาดประการใดทางผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย




ผู้จัดทำ            
ด.ญ ภคภรณ์ ปราบปัญจะ

ประวัติจังหวัดภูเก็ต


จังหวัดภูเก็ต


ประวัติความเป็นมาของจังหวัดภูเก็ต




      ความเป็นมาเเละประวัติของภูเก็ตมีหลายกระเเสบ้างว่าภูเก็ตเป็นเกาะที่ชาวประมงค้นพบ แต่เดิมเรียกว่า "บูกิต" เป็นภาษามลายูแปลว่า ภูเขา เเต่บางกระเเสว่า ภูเก็ตมาจากคำว่า"ภูเก็จ"แปลว่าภูเขาที่มีค่า ซึ่งคำว่าภูเก็จมีบันทึกในเอกสารเมืองถลางว่าใช้กันมาตั้งเเต่ปี พ.ศ 2328 เป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อเมืองถลาง ต่อมาเปลี่ยนเป็นภูเก็ตโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังที่ปรากฏในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ตั้งเเต่ปี พ.ศ 2450เป็นต้นมา โดยเริ่มเป็นที่รู้จักกันในฐานะมณฑลภูเก็ต ในสมัยรัชกาลที่ 5 และเปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต ในเวลาต่อมา


  • สมัยกรุงศรีอยุธยา
  • ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งห้างค้าแร่ดีบุกในเมืองถลางเมื่อพ.ศ. 2126 ต่อมาในปีพ.ศ.2169 พระเจ้าทรงธรรมทรงทำสัญญา ให้ดัตช์เข้ามาผูกขาดการรับซื้อแร่ดีบุกที่ถลางได้ เนื่องจากชาวดัตช์เริ่มเข้ามามีอิทธิพลบนเกาะชวามากขึ้น แต่ชาวถลางก็ลุกขึ้นสู้การกดขี่ของชาวดัตช์ โดยขับไล่ไปจากเกาะในพ.ศ. 2210 และต่อมาในสมัยพระนารายณ์มหาราชทรงมีดำริที่จะให้สัมปทานแก่ชาวฝรั่งเศสมาสร้างห้างและผูกขาดการค้าแร่ดีบุกที่ถลาง (ยกเลิกไปในสมัยสมเด็จพระเพทราชา)
  • สมัยรัตนโกสินทร์ถึงปัจจุบัน
  • ในสมัยรัชกาลที่ 1(พ.ศ.2328) เกิดศึกถลางขึ้นซึ่งคุณหญิงจันและคุณหญิงมุกร่วมกับชาวถลางต้านศึกพม่าได้สำเร็จ จนได้รับราชทินนามตำแหน่ง เป็นท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร ต่อมาในปี พ.ศ.2352 เกิดศึกถลางครั้งที่สองขึ้นถลางพ่ายแพ้แก่ทัพพม่า เมืองถลางจึงกลายเป็นเมืองร้าง 


     วิวัฒนาการของภูเก็ต มีหลายช่วงด้วยกัน นับเเต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เห็นได้จากมีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ เครื่องมือหินและขวานหิน ที่บ้านกมลาอ.กะทู้ โดยจากการตรวจสอบ ทำให้ทราบว่าหลักฐานดังกล่าว มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า เกาะภูเก็ตมีผู้คนอาศัยอยู่ ตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ 
             สมัยอาณาจักรกรีกโบราณ ได้มีการกล่าวถึงภูเก็ต ในชื่อแหลมจังซีลอน ตามแผนที่ของปโตเลมี (นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก)สันนิษฐานว่า ขณะนั้นภูเก็ตยังเป็นแหลมติดกับแผ่นดินใหญ่ ก่อนที่พื้นดินบริเวณช่องปากพระ (ร่องน้ำระหว่างจังหวัดพังงาและภูเก็ต) จะถูกกัดเซาะจนขาดจากกัน แสดงให้เห็นว่าภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินทางในขณะนั้นในนามของแหลมจังซีลอน
             ภูเก็ตเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรต่างๆเรื่อยมาตั้งแต่ประมาณต้นพุทธศตวรรษ 800ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรตามพรลิงค์ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรศิริธรรมราช อาณาจักรสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งเป็นจังหวัดหนึ่ง ในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยผ่านเหตุการณ์ต่างๆมาตั้งแต่เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการเดินทางระหว่างสุวรรณภูมิและทวีปอินเดีย ศูนย์กลางสำคัญในการค้าขายคือทำเหมืองแร่ดีบุกและปัจจุบันเป็นเมืองท่องเที่ยวมีชื่อเสียงระดับโลก
           สำหรับประวัติศาสตร์ที่สามารถอ้างอิงได้ และมีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับภูเก็ตนั้นพอสรุปได้ดังนี้

        15 ปีต่อมา ( พ.ศ.2367) รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นสร้างเมืองใหม่ ที่บ้านท่าเรือ ประจวบกับช่วงนั้น มีการพบสายแร่ ที่บ้านเก็ตโฮ่ (อ.กะทู้) และที่บ้านทุ่งคา (อ.เมืองภูเก็ต) ความเจริญ และชุมชนเมืองจึงย้ายไปตามแหล่ง ที่พบสายแร่แต่เมืองเหล่านั้น (บ้านกะทู้ , บ้านทุ่งคา) แต่ก็อยู่ในฐานะเมืองบริวารของถลาง 
        ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3-4 กิจการเหมืองแร่ มีความเจริญก้าวหน้ามาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการส่งส่วย “ดีบุก” มาเป็นการผูกขาดเก็บภาษีอากรแบบ “เหมาเมือง” ตลอดจนมีการทำ สนธิสัญญา กับต่างชาติ ส่งผลให้ธุรกิจการค้าดีบุก ขยายตัวอย่างกว้างขวาง คนจีนพากันหลั่งไหล เข้ามาทำเหมืองจนกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ ในภูเก็ตจนถึงปัจจุบัน
        ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2435) ได้มีการปฏิรูปการปกครอง เป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล มีการแต่งตั้งให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต และในช่วงนี้เองที่ภูเก็ต เริ่มมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้วางรากฐาน ด้านต่างๆ ทั้งระบบสาธารณูปโภค เช่น การสร้างถนน, การพัฒนา ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ และวางรากฐานการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจในภูเก็ต คือ ตรา พ.ร.บ.เหมืองแร่, ริเริ่มการปลูกยางพารา ในภาคใต้ของประเทศไทยรวมทั้งภูเก็ต
        ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมากิจการเหมืองแร่เริ่มซบเซาลง กลุ่มนักลงทุนเริ่มมีแนวคิด ในการนำธุรกิจการท่องเที่ยว เข้ามาแทนที่ การทำเหมืองแร่ และในวันที่ 23 มิถุนายน 2529 ได้เกิดเหตุการณ์ เผาโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม นับเป็นการปิดฉากธุรกิจเหมืองแร่ ในภูเก็ตอย่างแท้จริง การท่องเที่ยวกลายเป็นทางเลือกใหม่ของคนภูเก็ต